จริยธรรมในการเผยแพร่บทความ


จริยธรรมในการเผยแพร่บทความ

วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง ฉบับเทคโนโลยีการศึกษา ดำเนินการเผยแพร่บทความ โดยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านการศึกษา ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี และด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ทั้งผลงานวิชาการและผลงานวิจัยสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและบุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย อันแสดงให้เห็นถึงคุณภาพการศึกษา การค้นคว้า การวิจัย และการอ้างอิงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ดังนั้นเพื่อให้การสื่อสารทางวิชาการเป็นไปอย่างถูกต้อง สอดคล้องกับมาตรฐานในระดับนานาชาติ จึงได้กำหนดแนวทาง วิธีปฏิบัติที่ดีและจริยธรรมของการเผยแพร่ผลงานวิจัยและวิชาการไว้สำหรับการดำเนินงานของวารสาร ตามบทบาทหน้าที่ดังนี้

 

บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์

1. ผู้เขียนต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น โดยรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในแหล่งใดๆ มาก่อน

2. ผู้เขียนต้องรายงานผลที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย โดยไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ

3. ผู้เขียนต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำข้อความใด ๆ มาใช้ในผลงานของตนเอง รวมทั้งต้องทำรายละเอียดเอกสารอ้างอิงไว้ท้ายบทความ

4. ผู้เขียนต้องเขียนบทความวิจัยหรือบทความวิชาการให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในวารสาร

5. ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัยจริง

6. ผู้เขียนต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยและระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี)

 

บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ

1. บรรณาธิการมีหน้าที่กลั่นกรองและพิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อเผยแพร่ในวารสารที่ตนรับผิดชอบ

2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนและผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ในทุกกรณี

3. บรรณาธิการต้องคัดเลือกบทความเพื่อเผยแพร่ หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากความชัดเจน ความสอดคล้องของเนื้อหา และนโยบายของวารสาร เป็นสำคัญ

4. บรรณาธิการต้องไม่เผยแพร่บทความที่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่แหล่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว

5. บรรณาธิการต้องไม่ปฏิเสธการเผยแพร่บทความโดยใช้เหตุผลและความรู้สึกส่วนตัว

6. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน ผู้ประเมิน และกองบรรณาธิการ

7. บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นในบทความอย่างจริงจัง โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ และเป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการ

8. ก่อนบรรณาธิการ “ตอบรับ” หรือ ‘ปฏิเสธการเผยแพร่” บทความนั้น ๆ ต้องผ่านการตรวจสอบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นในกระบวนการประเมินบทความ หากพบการคัดลอกผลงานดังกล่าว บรรณาธิการจะหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้เขียนหลักทันทีเพื่อขอคำชี้แจง

 

บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ

1. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ

2. หลังจากได้รับบทความจากกองบรรณาธิการ ผู้ประเมินต้องตระหนักว่า ตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้เขียนเป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ

3. ผู้ประเมินบทความ ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญด้านเนื้อหาในบทความ คุณภาพของการวิเคราะห์ข้อมูล และความเข้มข้นของผลงาน

4. หากมีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือนหรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่น ๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบด้วย

Contact Details

กองบรรณาธิการ วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง ฉบับเทคโนโลยีการศึกษา อาคารท่าชัย ชั้น 3 หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
ติดต่อกองบรรณาธิการ โทร. 02-310-8564, 089-138-0039, 063-789-9951
Website : www.edtechjournal.ru.ac.th, E-Mail :edtechjournal@rumail.ru.ac.th
Developer : สถาบันคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Online: 3
Today: 59
Yesterday: 163
All: 160978
© 2024  Ramkhamhaeng University All Rights Reserved